สำนักผู้นำสูงสุดซัยยิด อาลี คาเมเนอี

ผู้นำในมุมมองของกฏหมาย

ผู้นำในมุมมองของกฏหมาย

มาตราที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้นำในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

มาตรา ที่ ๒ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
มาตราที่ ๕ วิลายะตุลฟากีฮ์ผู้ทรงคุณธรรมและยุติธรรม(ฟะกีห์และตักวา)
มาตรา ที่ ๕๗ อำนาจสูงสุดในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
มาตรา ที่ ๖๐ อำนาจการบริหาร
มาตราที่ ๙๑ สภาพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๐๗ การแต่งตั้งผู้นำโดยสมาชิกสภาอุลามาสูงสุด (คุบริฆอน รอฮ์บารีย์)
มาตรา ที่ ๑๐๙ คุณสมบัติและคุณลักษณะของผู้นำ
มาตรา ที่๑๑๐ หน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆของผู้นำ
มาตราที่ ๑๑๑ การเสียชีวิต การลาออกหรือการปลดผู้นำ
มาตรา ที่ ๑๑๒ มัญมะอฺ ตัสคียส์ มัศลาฮัต นิศอม.
มาตราที่ ๑๑๓ ประธานาธิบดี
มาตราที่ ๑๓๑ การเสียชีวิต การลาออกหรือการปลดประธานาธิบดี
มาตราที่ ๑๔๒ ทรัพย์สินของผู้นำ ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี
มาตราที่ ๑๕๗ อำนาจตุลาการ
มาตราที่ ๑๗๕ สื่อสารมวลชน
มาตราที่ ๑๗๗ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ.


มาตรา 2 :
สาธารณรัฐอิสลามเป็นระบบที่วางอยู่บนหลักศรัทธา ดังต่อไปนี้

1. หลักเอกภาพแห่งอัลลอฮ์ ( “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์” ) ,และอำนาจสูงสุดของพระองค์และอำนาจนิติบัญญัติ เกี่ยวกับกฎหมายทั้งมวลเป็นของพระองค์ และเป็นความจำเป็นที่จะต้องยอมจำนนต่อบทบัญญัติของพระองค์
2. วะห์ยู “วิวรณ์” และหลักการพื้นฐานของมันในการแสดงออกทางกฎหมายต่างๆ
3. การฟื้นคืนชีพและบทบาทในการสร้างสรรค์ของมันในวิวัฒนาการแห่งความเป็นมนุษย์มุ่งสู่อัลลอฮ
4. ความยุติธรรมของอัลลอฮ์ (ซบ)ในการสร้างสรรค์และบทบัญญัติของพระองค์
5. อิมามัต และผู้นำที่สืบสาน ตลอดทั้งบทบาทและหน้าที่หลักในการคงไว้ซึ่งการปฏิวัติอิสลาม
6. ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และคุณค่าต่างๆอันสูงส่งของมนุษยชาติและเจตนารมณ์เสรีอันควบคู่กับความรับผิดชอบในหน้าที่ อันพึงมียัง พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้แก่
1. การอิญติฮาต อย่างต่อเนื่องของบรรดา ฟุกาฮาอ์ ที่มีเงื่อนไงครบสมบูรณ์ (นักกฎหมาย ผู้มีคุณภาพ)ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐาน ของคัมภีร์ อัล-กุรอาน , ซุนนะห์ (หลักจริยวัตร)ของท่านศาสดาและอิมาม(อ)ทั้งหลาย
2. การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ , เทคโนโลยีและประสบการณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีความเจริญก้าวหน้า ตลอดทั้งความพยายามในด้านต่างๆ อันนำไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าต่อ ๆ ไป
3. ทำการปฏิเสธการกดขี่และการยอมจำนนต่อการกดขี่ในทุกรูปแบบ, และทำการปฏิเสธการปกครองแบบทรราช ตลอดทั้งการยอมรับอำนาจนั้นของมัน และ สถาปนาความยุติธรรม ความเป็นอิสระทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และเกียรติ์ยศ ศักดิ์ศรีของชาติ

มาตรา 5 :
ในช่วงเวลาที่อิมามท่านที่ 12 อยู่ในสภาพฆัยบัต (เร้นกาย) ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านนั้น, ผู้นำแห่งกิจการทั้งหลาย(วิลายะตุล อัมร์) และการนำประชาชน ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์ (ฟากีห์) ผู้ทรงคุณธรรมและยุติธรรม, รอบรู้สถานการณ์แห่งยุคสมัย กล้าหาญพร้อมด้วยความสามารถในการจัดการและบริหาร ซึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 107

 

มาตรา 57 :
อำนาจสูงสุด 3 อำนาจในสาธารณรัฐอิสลามคือ อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจ
ตุลาการ ซึ่งอำนาจเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลตรวจสอบของ ผู้มีอำนาจวิลายัต มุฏลัก และผู้นำศาสนา และปวงประชา เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตราของรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่ติดตามมา ซึ่งอำนาจทั้งสามเหล่านี้ต่างเป็นอิสระต่อกัน


มาตรา 60 :
อำนาจบริหารนั้นจะถูกดำเนินการโดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ, นายกรัฐมนตรี และสภาคณะรัฐมนตรี ยกเว้นในกรณีที่ผู้นำต้องรับผิดชอบโดยตรงตามกฎหมาย

 

มาตรา 91 :
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การพิจารณาตัดสินของรัฐสภานั้นมิได้เพิกเฉยต่อบทบัญญัติกฎเกณฑ์
ของอิสลามและหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ, นั้น จำต้องจัดตั้งสภาพิทักษ์รัฐธรรมนูญขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย :
1. นักนิติศาสตร์ที่มีคุณสมบัติหกคน ซึ่งเป็นผู้ทรงความรู้อย่างดีในหลักนิติศาสตร์อิสลาม เป็นผู้ทรงคุณธรรมและรอบรู้ในความต้องการแห่งยุคสมัย และการแต่งตั้งกลุ่มบุคคลเหล่านี้นั้นย่อมเป็นความรับผิดชอบของผู้นำ
2. นักกฎหมายหกคน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในกฎหมายด้านต่างๆ จากหมู่ผู้พิพากษามุสลิม ซึ่งได้รับ
การแนะนำโดยประธานตุลาการแก่ทางรัฐสภาอิสลาม และการแต่งตั้งบุคคลเหล่านี้จะต้องกระทำโดยรัฐสภา

มาตรา 107 :
หลังจากมัรเญี้ยตักลีด และท่านผู้นำสูงสุดแห่งการปฏิวัติอิสลาม และผู้สถาปนารัฐอิสลามอิหร่าน คือท่านอยาตุลลอฮ์ อัลอุศมา อิมามโคมัยนี(รฎ)แล้ว ผู้ที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำนั้น จะต้องเป็นไปตามเสียงส่วนข้างมากของประชาชนทีได้ยอมรับแล้วในฐานะที่เป็นหัวหน้าและผู้นำ ซึ่งการกำหนดแต่งตั้งผู้นำนั้นเป็นหน้าที่ของสภาอุลามาสูงสุด และสภาอุลามาสูงสุดจะทำการปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเงื่อนไขและคุณสมบัติของบรรดาเหล่าฟุกาฮะห์(นักนิติศาสตร์)ดังกล่าวตาม มาตรา 5 และ มาตรา 109 เพื่อคัดเลือกผู้นำ เมื่อใดก็ตามที่ได้ถูกพบว่ามีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามที่ต้องการอย่างครบถ้วน ตามมาตรา 109 เหนือนักนิติศาสตร์คนอื่น ๆ แล้วบุคคลนั้นก็จะถูกแนะนำแก่ประชาชนในฐานะที่เป็นผู้นำทั้งประเทศ และผู้นำต่างเท่าเทียมกันเบื้องหน้ากฎหมาย เหมือนกับสมาชิกอื่น ๆ ทั้งมวลของประเทศ

มาตรา 109 :
คุณสมบัติและคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้นำมีดังนี้ :
1. มีความรู้ความสามารถในทางวิชาการในการตัดสินชี้ขาด และวินิจฉัยในทุกภาคส่วนของหลักนิติศาสตร์(ฟิกฮ์)
2. มีคุณธรรมและความยุติธรรมสำหรับการเป็นผู้นำของประชาชาติอิสลาม
3. มีโลกทัศน์และความเข้าใจแจ่มชัดในด้านการเมือง สังคม, และมีความกล้าหาญ, มีความสามารถรอบด้านและมีความสันทัดในด้านการบริหารอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหากมีบุคคลหลายคนมีคุณสมบัติครบถ้วนในกรณีดังกล่าวข้างต้น ก็จงเลือกเอาบุคคลที่มีโลกทัศน์และความเข้าใจแจ่มชัดในด้านนิติศาสตร์และการเมือง เป็นบุคคลในลำดับแรก.


มาตรา 110 :
หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำ :
1. กำหนดนโยบายการเมืองของระบอบสาธารณรัฐอิสลามในภาพรวม ภายหลังจากที่ได้ปรึกษากับมัจญมะอฺมัศลาฮัตเตนิศอม (สภาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง)
2. ควบคุมดูแลการบริหารนโยบายทั้งระบบ ในสารธารณรัฐอิสลาม
3. คำสั่งในการเลือกตั้ง
4. ผู้ทรงอำนาจสูงสุดของเหล่าทัพ
5. ประกาศสงคราม และ สงบศึก ตลอดทั้งสั่งการผนึกเตรียมกองกำลังผสมของทุกฝ่าย
6 แต่งตั้งและถอดถอนและรับรองการลาออก ของบุคคลดังนี้ ก. คณะนิติศาสตร์(ฟุกาฮาห์)ของสภาพิทักษ์การปฏิวัติ ข.คณะผู้บริหารและผู้ทรงอำนาจสูงสุดของอำนาจตุลาการ ค. ผู้อำนวยการสื่อสารมลชนและกรมประชาสัมพันธ์ของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ง. ผู้บังคับบัญชากองกำลังผสม จ.ผู้บังคับบัญชากองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ฉ.ผู้บัญชาการสูงสุดของทั้งสามเหล่าทัพ
7 แก้ไขปัญหาที่ขัดแย้งและกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ทั้งสามเหล่าทัพ.

8 แก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ไม่สามารถแก้ไขได้ตามปรกติ โดยผ่านประธานมัจญมะอฺมัศลาฮัตเตนิศอม (สภาผู้เชี่ยวชาญการปกครอง)

9 ลงนามรับรองตราสารของประธานาธิบดีหลังจากได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน ความสามารถของบรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นไปตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายปัจจุบัน ซึ่งจะต้องได้รับการยืนยันโดยสภาพิทักษ์ ฯ ก่อนการเลือกตั้ง และจะต้องได้รับการยืนยันในวาระสมัยแรกของการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีโดยผู้นำ
10 การถอดถอนประธานาธิบดีนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้งภายหลังจากการตัดสินชี้ขาดเช่นนั้นได้ถูกประกาศโดยศาลสูงโดยชี้ให้เห็นถึงการละเมิดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามหน้าที่ทางราชการของประธานาธิบดีหรือรัฐสภาได้มีการลงคะแนนเสียงไม่ยอมรับถึงความสามารถทางด้านการเมืองของประธานาธิบดี ตามมาตรา 89
11 อนุมัติให้การอภัยโทษแก่ผู้ที่ถูกศาลตัดสินพิพากษาลงโทษถึงขั้นประหารชีวิตหรือให้ทำการลดหย่อนผ่อนโทษบุคคลเหล่านั้นได้ภายในขอบเขตแห่งหลักการอิสลาม และอยู่ภายใต้การแนะนำของศาลสูง และผู้นำมีอำนาจอย่างดุษณีที่จะมอบอำนาจเหล่านี้ให้กับบุคคลอื่นที่เห็นว่าเหมาะสม.

 

มาตรา 111 :
ในกรณีที่ผู้นำไม่มีความสามารถที่จะดำเนินงานตามหน้าที่ทางราชการได้ หรือขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามที่ระบุไว้ในมาตราห้า และหนึ่งร้อยเก้า หรือเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วแต่แรกแล้วว่าขาดคุณสมบัติ บุคคลนั้นจะต้องถูกให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่. และการกำหนดชี้ชัดถึงความไร้ความสามารถเช่นนั้นเป็นความรับผิดชอบของสภาอุลามาสูงสุด(สภาคัดเลือกผู้นำ)ตามความที่ได้ถูกระบุไว้ในมาตราหนึ่งร้อยแปด . หากเสียชีวิต ลาออก หรือ ถูกกถอดถอน สภาอุลามาสูงสุด(สภาคัดเลือกผู้นำ) จำต้อง รีบเร่งสรรหา แต่งตั้งและแนะนำผู้นำคนใหม่ขึ้นมาในทันที และก่อนที่จะประกาศแต่งตั้งผู้นำคนใหม่นั้น สภาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ประธานาธิบดี ประธานอำนาจตุลาการ และหนึ่งในตัวแทนจากนักนิติศาสตร์(ฟุกาฮาห์)ของสภาการพิทักษ์การปฏิวัติ ซึ่งจะต้องถูกแต่งตั้งโดยประธานมัจญมะอฺมัศลาฮัตเตนิศอม (สภาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วจำต้องทำหน้าที่แทนท่านผู้นำเป็นการชั่วคราว และหากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีคนหนึ่งคนใดจากกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทางสภาจำต้องสรรหา คนใหม่เข้ามาแทนที่ในสภา แต่ต้องได้เสียงส่วนใหญ่ของบรรดานักนิติศาสตร์(ฟุกาฮาห์)ของสภาชูรอ . ซึ่งสภาชูรอดังกล่าวจำต้องปฏิบัติหน้าที่ ตามหมวดหมู่ข้อที่ 1, 3 , 5, 10 และส่วน(ดาล) (ฮา ) และ (วาว) หมวดหมู่ข้อที่หก ของมาตรา 110 และกำหนดแต่งตั้งหลังจากผ่านคามเห็นชอบของคณะสมาชิกสภาประธานมัจญมะอฺมัศลาฮัตเตนิศอม (สภาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง)ด้วยคะแนนเสียงร้อยละสาม ส่วนสี่. และกรณีที่ผู้นำไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงชั่วคราว ไม่ว่าจะด้วยเหตุล้มป่วยและเหตุอื่นๆก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ทางสภาจำต้องปฏิบัติหน้าแทนเป็นการชั่วคราวตามมาตราข้างต้น.

มาตรา 112 :
กรณีที่ ทางมัญมะอฺตัซฆียส์ มัสลาฮัตเตนิศอม “สภาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง) เห็นว่า ญติของรัฐสภาอิสลาม มีความขัดแย้ง และทางสภาพิทักษ์การปฏิวัติก็เห็นชอบว่าขัดแย้งกับหลักบทบัญญัติแห่งชะรีอัตและรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐสภาด้วยกับการคำนึงถึงความมั่นคงของระบอบซึ่งไม่อาจรับ ญติของสภาพิทักษ์ปฏิวัติ และได้ปรึกษาหารือกับบุคคลที่ทางผู้นำได้กำหนดแต่งตั้ง เหมือนกับกรณีอื่นๆที่มีในรัฐธรรมนูญ ต้องแต่งตั้งโดยผู้นำ . สมาชิกวิสามัญและสามัญของมัญมะอฺนั้นท่านผู้นำสูงสุดเป็นผู้กำหนด และวาระต่างๆของมัญมะอ์นั้น ต้องกำหนดโดยตรงจากสมาชิก และท่านผู้นำสูงสุดเป็นผู้อนุมัติรับรอง.


มาตรา 113 :
ประธานาธิบดีคือตำแหน่งสูงสุดทางราชการของประเทศรองจากตำแหน่งผู้นำ ประธานาธิบดีมี
ความรับผิดชอบที่จะนำรัฐธรรมนูญไปดำเนินการปฏิบัติใช้ ทำการกำหนดอำนาจทั้งสามฝ่ายของรัฐบาล
และทำการชี้นำอำนาจฝ่ายบริหาร เว้นแต่ในกรณีอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้นำ


มาตรา 131 :
ในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่ความตาย, ลาออก หรือถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือในกรณีที่
ประธานาธิบดีไม่อยู่เกินกว่าช่วงสองเดือนอันเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือ ประธานาธิบดีหมดวาระลง และยังได้เลือกประธานาธิบดีคนใหม่ด้วยเหตุผลอื่นใดก็ดี หรือกรณีอื่นๆในลักษณะนี้, ดังนั้นภาระหน้าที่ดังกล่าวจะตกอยู่กับรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบและการอนุมัติของผู้นำ, และสภาเฉพาะกาลของประธานาธิบดี อันประกอบด้วยประธานรัฐสภา ประธานอำนาจตุลาการ และรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบอำนาจให้จัดการเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ขึ้นภายในห้าสิบวัน และหากประธานาธิบดีคนที่หนึ่งได้เสียชีวิต หรือด้วยกับเหตุผลบางประการที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือประธานาธิบดี ไม่มีรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง นั้น ทางผู้นำสูงสุด มีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลอื่นแทน.

มาตรา 142 :
ทรัพย์สินที่ถือกรรมสิทธิ์ใด ๆ ของผู้นำหรือบรรดาสมาชิกของสภาผู้นำ, ประธานาธิบดี, รองประธานาธิบดี, คณะรัฐมนตรี, ตลอดทั้งบรรดาภริยาและบุตรธิดาทั้งหลายของบุคคลเหล่านี้จะต้องได้รับการตรวจสอบโดยศาลสูงก่อนและหลังการเข้ารับตำแหน่งของบุคคลนั้น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีทรัพย์สิน
ที่ยึดครองกรรมสิทธิ์ใด ๆ ได้ถูกนำเข้ามารวมไว้อย่างผิดกฎหมาย


มาตรา 157 :
เพื่อที่จะดำเนินการในความรับผิดชอบด้านต่าง ๆ ของฝ่ายอำนาจตุลาการเป็นไปได้โดยสะดวก ฉะนั้นทางผู้นำสูงสุดต้องแต่งตั้งบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นมุญตะฮิด ผู้ทรงยุติธรรมและเชี่ยวชาญรอบรู้ในด้านตุลาการ และการบริหารจัดการ ซึ่งจะดำรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานอำนาจฝ่ายตุลาการ เป็นระยะเวลาห้าปี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายตุลาการ.

มาตรา 175 :
ด้าน เสรีภาพเกี่ยวกับการพิมพ์และการโฆษณาในสื่อสารมวลชน ( วิทยุและโทรทัศน์ )แห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านนั้น จะต้องคำนึงและยึดมั่นบนพื้นฐานแห่งอิสลามและความมั่นคงของประเทศ.
การแต่งตั้งและการถอดถอนประธานกรมประชาสัมพันธ์วิทยุและโทรทัศน์อิสลามแห่งสาธารณรัฐอิสลามนั้น ขึ้นตรงกับท่านผู้นำสูงสุด และสภาชูรอ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแทนจากประธานาธิบดี ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายบริหาร “รัฐสภาอิสลาม” (แต่ละองค์กรจะต้องมีสองคน)ในการควบคุมและดูแลกรมประชาสัมพันธ์ดังกล่าว และการจัดการเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนนั้นจะต้องถูกกำหนดโดยกฎหมาย

มาตรา 177
ในประเด็นที่จำเป็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ ผู้นำสูงสุด หลังจากที่ได้ปรึกษากับมัจญมะอฺมัศลาฮัตเตนิศอม (สภาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง) ออกคำสั่งยังประธานาธิบดีในประเด็นที่ต้องทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ แล้วส่งเรื่องให้สภาพิจารณารัฐธรรมนูญทราบ ซึ่งสภาดังกล่าวประกอบด้วย (๑) คณะสมาชิกสภาพิทักษ์การปฏิวัติ (๒) คณะผู้บริหารสูงสุดของสามอำนาจ (อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ) (๓) สมาชิกถาวรของมัจญมะอฺมัศลาฮัตเตนิศอม (สภาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง) (๔) ตัวแทนจากสภาผู้นำสูงสุดห้าคน
(๕) สิบคนที่ทางผู้นำสูงสุดเลือกสรร (๖) ตัวแทนจากคณะรัฐมนตรีสามคน (๗) ตัวแทนจากอำนาจฝ่ายตุลาการสามคน (๘) ตัวแทนจากรัฐสภาอิสลามสิบคน (๙) ตัวแทนจากมหาลัยสามคน. ซึ่งรูปแบบและเงื่อนไขและการกำหนดบุคคลดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดโดยกฎหมาย. ญติของสภาชูรอ หลังจากการเห็นชอบและอนุมัติของผู้นำสูงสุด จะต้องมีการลงประชามติ.

700 /