สำนักผู้นำสูงสุดซัยยิด อาลี คาเมเนอี
ดาวน์โหลด:

เสียงเรียกร้องจากผู้นำ

  • เสรีภาพ
    • เสรีภาพภายในสังคม
      ปริ้นซ์  ;  PDF

      بسم الله الرحمن الرحيم

      วันนี้ เป็นวันที่หวานชื่นสำหรับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ข้าพเจ้าได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยแห่งนี้หลายต่อหลายครั้งด้วยกัน. แต่การพบปะกันในครั้งนี้ ตามทัศนะของข้าพเจ้า มันมีความพิเศษกว่าครั้งก่อนๆ มีความตรึงใจกว่าและชวนให้นึกถึงวันวานที่ยังคงหอมหวานอยู่อย่างเสมอ. ช่วง 2 หรือ3สามเดืิอนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้รายงานว่า ข้าพเจ้าจะมีโอกาสพบปะกับพวกท่านเช่นนี้ ข้าพเจ้าเลยสันนิษฐานว่า ท่านอธิการบดีคงอยากให้ข้าพเจ้ามอบสาส์น, หรือพาคณะเข้าพบ, ตั้งแต่วันนั้น ข้าพเจ้าเลยตัดสินใจว่า ข้าพเจ้าจะเป็นฝ่ายมาเอง เพื่อเข้าร่วมประชุมและพบปะกับพวกท่าน จึงได้เริ่มต้นทำการศึกษาผลงานต่างๆของมหาวิทยาลัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา.
      มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถูกสร้างมาจากพลังแห่งความหวังอันยิ่งใหญ่ ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศเรานั้น มีบุญคุณอันยิ่งใหญ่ต่อขบวนการปฏิวัติ, รัฐ, ในการสร้างพัฒนาการทางด้านความรู้ วัฒนธรรมและอื่นๆต่อประเทศชาติ. 
      แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีความพิเศษตรงที่ถูกสร้างขึ้นมาจากการปฏิวัติ มีจุดประสงค์เพื่อทำการผลิตครูบาอาจารย์ทางด้านวิชาการในการถ่ายทอดความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ ที่มาจากสายแห่งการปฏิวัติ และส่งออกไปยังมหาวิทยาลัยอื่นทั่วประเทศ. อัลฮัมดุลิลละฮ์ วันนี้ ในรั้วมหาวิทยาลัย เราอาจมีเยาวชนคนหนุ่มสาว และนักศึกษาที่เป็นผู้ศรัทธาและยึดมั่นต่อแนวทางแห่งการปฏิวัติเป็นจำนวนมาก คำพูดนี้อาจจะไม่กระจ่างแจ้งสำหรับบางท่าน แต่คำพูดนี้นั้น มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับช่วงทศวรรตแรกแห่งชัยชนะของการปฏิวัติอิสลาม. ในสมัยนั้น อาจารย์บางท่านห้ามนักศึกษาเข้าร่วมกับขบวนการปฏิวัติ และห้ามนักศึกษาไปมหาวิทยาลัย ส่วนหนึ่งจึงไปเรียนต่อในต่างประเทศ ส่วนหนึ่งก็มาฟ้องข้าพเจ้าหลายต่อหลายครั้งว่า นักศึกษาบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการต่อสู้ของขบวนนี้, แต่ในขณะนั้นก็มีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก ทำการรับใช้มหาวิทยาลัยอย่างบริสุทธิ์ใจเช่นเดียวกัน. การพัฒนาการของมหาวิทยาลัยต่างๆของประเทศ เราต้องพึ่งพาโครงสร้างและรากฐานที่มั่นคงแห่งแนวคิด และแนวคิดนั่นเองคือรากฐากที่สำคัญในการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้. วันนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้วว่า มีบัณฑิตทั้งชายและหญิงหลายพันคนที่จบจากสถาบันแห่งนี้ ซึ่งสิ่งนี้เองคือประสบการณ์และความทรงจำอันหอมหวานของข้าพเจ้า..
      สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีที่รักทุกท่าน ข้าพเจ้ามีประโยคหนึ่งที่อยากจะกล่าวคือ ปัญญาชนจากรั้วมหาวิทยาลัยทุกท่านนั้น มีภาระหน้าที่พิเศษต่อสังคม. กล่าวคือ ในความภาคภูมิใจของเราต่อพวกท่านนั้น ปัจจุบันประเทศของเรา การปฏิวัติของเรา รัฐของเรา ต้องใช้ปัญญาชนและเจ้าของทฤษฎีจากทุกท่านอย่างเต็มที่ ในการเติมเต็มช่องว่างที่เกิดขึ้นต่อรัฐ, เราได้ก้าวผ่านวิกฤตการณ์ลำบากที่สุดต่างๆไปแล้ว เช่นในสมัยสงคราม และสมัยหลังจากสงคราม ซึ่งช่วงนั้นเอง เราต้องเผชิญกับปัญหาและวิฤกติการณ์ด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง.

      ปัจจุบัน คือช่วงสมัยแห่งการพัฒนาการทางด้านวิชาความรู้และมะอ์ริฟัต (การรู้จักอย่างแท้จริง) เพื่อทดแทนความล้าหลังในอดีต ที่ล้วนมาจากวิกฤติการณ์ในอดีตทั้งสิ้น ช่วงสมัยนั้้น พวกเขา(ตะวันตก)ไม่อนุญาติให้เห็นถึงความสามารถอันโดดเด่นของเรา, ไม่อนุญาติให้เห็นถึงความเจิดจรัสของประชาชาติเรา โดยพวกเขาทำการผูกขาดผลผลิตทางด้านภาคอุตสหกรรม ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความทันสมัยในด้านความรู้และความเจริญก้าวหน้าไว้กับกลุ่มประเทศตะวันตกเพียงเท่านั้น. ทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหมายถึง สินค้านั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพียงเท่านั้น สิ่งนี้คือแนวคิดที่ส่งออกมายังประเทศเรา. และการทำลายทัศนคติในเชิงบวกของประชาชนและปัญญาชนของเราต่อผลิตภันฑ์ใดๆก็ตาม ที่เราสามารถประดิษฐ์ขึ้นมาได้เอง, การทำลายทัศนคติต่อวัฒนธรรมและอารยธรรมของเรา, จรรยามารยาทของเรา, ความรู้ความสามารถของเรา, ทัศนคติเชิงลบลักษณะนี้ ได้ซึมซับสู่ประชาชนของเราในทุกย่อมหญ้า และได้สร้างความขมขื่นต่อประชาชนของเรายิ่งนัก ตะวันตกได้ใช้เวลาหลายปีในการวางแผนเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเรา และเขาก็ทำสำเร็จ กล่าวคือ ทุกความล้าหลังในประเทศของเราที่ท่านเห็นอยู่ คือผลพวงของสิ่งนี้. ทรัพยากรมนุษย์ที่เรามี, ทรัพยากรธรรมชาติที่เรามี, ภูมิศาสตร์ที่ดีเลิศของเรา, มรดกโลกอันทรงคุณค่าในทุกแขนงวิชาความรู้ ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและอื่นๆที่เรามี, ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการผลักดันให้เรามีการพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าและโดดเด่นบนเวทีโลกในปัจจุบัน ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้หรือด้านอุตสหกรรมและอื่นๆ แต่กลับกันสิ่งเหล่านั้นได้กลายเป็นความล้าหลังที่เราได้รับ. ในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านประวิติศาสตร์, ภูมิศาสตร์หรือแม้กระทั่งวรรณคดี พวกเขา(ตะวันตก)ก็ได้ทำการศึกษาและวิจัยในเรื่องนี้มากกว่าพวกเราเสียอีก. 

      ความล้าหลังในเรื่องนี้ เรายังไม่ได้มีการพัฒนาการเท่าที่ควร, แต่ด้วยกับการมาของการปฏิวัติอย่างปาฏิหาริย์นี้ ได้ทำลายทัศนคติและค่านิยมของความต่ำต่อยแห่งชาติออกไปแล้วในปัจจุบัน และได้นำสโลแกน “การเชื่อมั่นตนเอง” มาแทนที่..

      ในปีแรกของการปฏิวัติ โดยเฉพาะช่วง 8 ปีของสงครามอ่าวเปอร์เซีย คือช่วงที่เราเผชิญกับปัญหาและวิกฤติมากที่สุด. ปัจจุบันนี้ หน้าที่สำคัญของพวกท่านต่อเป้าหมายและอุดมการณ์คือ การคืนเกียรติยศอันสูงส่งยังอิสลาม, การคืนเสรีภาพและเอกราชแก่ประชาชนอิสลามแห่งอิหร่าน. จงทำให้ประเทศของเรานั้นเป็นเอกเทศจากทุกชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ใช้ประโยชน์ใดๆจากต่างชาติ หรือเราจะปิดชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
      เพราะคำพูดนี้มันขัดกับสติปัญญา และไม่มีใครที่จะเรียกร้องสิ่งนี้. 

      ในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติต่างใช้ประโยชน์ในสิ่งต่างๆร่วมกัน การแลกเปลี่ยนทัศนะทางด้านความคิด หรือด้านอื่นๆ ล้วนเป็นการแลกเปลี่ยนที่อยู่บนพื้นฐานของความทัดเทียมและเสมอภาคต่อกัน แต่ก่อนการปฏิวัติอิสลามนั้น การแลกเปลี่ยนสิ่งหนึ่งต่อสิ่งหนึ่งนั้น คือการเป็นขอทาน, การอ้อนวอน และการรับจากการให้จะมาพร้อมกับการดูถูกเยียดหยาม. 
      เราจะต้องนำพาประเทศไปถึงรากฐานอันเป็นแก่นแท้ที่สำคัญให้ได้ ภาระหน้าอันยิ่งใหญ่นี้ เป็นหน้าที่ของพวกท่านเยาวชนคนหนุ่มสาว บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ และเป็นปัญญาชนของชาติ. ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ภาระหน้าทีี่ที่อยู่บนบ่าของท่านมันหนักอึ้งอย่างยิ่ง แต่อินชาอัลลอฮ พระองค์จะทรงมอบเตาฟีก( โอกาส) ให้แก่พวกท่านมากยิ่งขึ้น.

      จุดประสงค์ของข้าพเจ้าในวันนี้ที่มา เพราะต้องการอยู่ไกล้ชิดกับพวกท่าน ไม่ต้องการมาบรรยายในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง, ข้าพเจ้าคิดว่าการได้มาฟังคำถามจากพวกท่าน และถ้าข้าพเจ้าตอบคำถามคงต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่สิ่งนี้มันช่างทรงคุณค่าและหอมหวานยิ่งนักสำหรับข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าเตรียมหัวข้อที่สำคัญของสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นประโยชน์แก่การศึกษา และข้าพเจ้าได้ทำการจดบันทึกไว้ เพื่อนำเสนอให้พวกท่าน.

      สองหัวข้อสำคัญภายใต้คำว่า “อิสรภาพ” ปัจจุบันนิยามของคำว่า “อิสรภาพ” กำลังถูกนำเสนอในเวทีระดับประเทศ โดยนักวิชาการบ้าง สื่อสารมวลชนบ้าง. ถือเป็นปรากฏการที่ประเสริฐสำหรับคำๆนี้ ควรมีการเสวนาวิชาการบนพื้นฐานของการปฏิวัติและหลักการที่ถูกต้อง และควรแลกเปลี่ยนทัศนะของบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในการพิสูจน์ต่อสิ่งที่ทุกคนต่างรอคอย และมีหมวดหมู่ที่ลึกซึี่งเป็นจำนวนมากต่อการค้นคว้าและศึกษา. ในวันนี้ มีการนำเสนอประเด็นต่างๆดังกล่าว ข้าพเจ้าได้อ่านและได้ฟัง การพูดหรือการเขียนในเรื่องดังกล่าว ในบางครั้งก็ทำการศึกษาและใช้ประโยชน์จากบทวิเคราะห์ต่างๆ. ทฤษฎีที่ถูกนำเสนอไปในหัวข้อนี้ ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร บ้างก็นำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว บ้างก็นำเสนอมุมมองที่แตกต่าง, แต่ทั้งสองทฤษฎีที่มีความต่างนั้น มีสัจธรรมของเหตุและผลอยู่ทั้งคู่. การพูดคุยในประเด็นนี้ถือว่าดีและมีประโยชน์ แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่เจ้าของทฤษฎีต่างๆของเรา ควรหยิบยกประเด็นโครงสร้างและหลักการด้านสื่อสารมวลชนมาพิจารณาให้มากกว่านี้ ควรลดทอนสิ่งที่ไร้ประโยชน์และไร้สาระออก และนำวิถีทางแห่งทางนำ ( ฮิดายัต) ต่อมวลมนุษยชาติมาแทนที่. ข้าพเจ้ากล่าวย้ำเตือนเสมอว่า ควรทำการศึกษาอย่างลึกซึ่งต่อการปฏิวัติ และปฐมเหตุของการศึกษาในเรื่องนี้ ก็คือการให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าว.
      หนึ่งจากหัวข้อที่ขอกล่าว คือความหมายของคำว่า อิสรภาพ ซึ่งคำๆนี้เป็นสโลแกนหลักของการปฏิวัติเรา ก่อนที่เราจะใช้คำนี้ (อิสระ) เราต้องมีอิสระและเสรีภาพทางด้านความคิดก่อน อิสระและเสรีภาพทั้งในเรื่องความคิดที่มาจากการปฏิบัติตามผู้อื่น หรืออิสระและเสรีภาพในเรื่องความคิด ที่มาจากการปฏิบัติตามปัจเจกบุคคล. ประเด็นนี้คือรากฐานของความสำเร็จต่อการเจริญก้าวหน้าของเรา, ถ้าสิ่งนี้ เราต้องปฏิบัติตามคนอื่น และตั้งหน้าตั้งตาเฝ้ารอคอย สิ่งที่ตะวันตกจะหยิบยื่นให้เรา, แท้จริงสิ่งเหล่านั้นคืออันตรายอันยิ่งใหญ่ ที่มันจะพาเราไปพบกับความหายนะในที่สุด. 

      ข้าพเจ้าได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า คำว่า อิสรภาพ มีการกล่าวไว้หลายครั้ง ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน และมีการเน้นย้ำหลายครั้ง จากพระวจนะของท่านศาสดา (ศอล) และลูกหลานของท่าน, การกล่าวถึงคำว่า อิสรภาพ ในที่นี้ หมายถึงการปฏิเสธอิสรภาพแบบไร้ขอบเขต เพราะไม่มีใครในโลกที่ให้นิยามของอิสรภาพเช่นนั้น และไม่มีการเชิญชวนมนุษยชาติเข้าสู่ความอิสระแบบไร้ขอบเขตอย่างแน่นอน, ประเด็นของเราก็ไม่ใช่ อิสรภาพทางด้านจิตวิญญาณของอิสลาม เพราะอิสรภาพทางด้านจิตวิญญาณนั้น มีอยู่ในความเชื่อของทุกคนที่มีหลักศรัทธา, แต่ประเด็นเรื่องอิสรภาพของเรานั้นคือ “ อิสรภาพภายในสังคม “ อิสรภาพที่หมายถึง สิทธิต่อการมีอิสระทางด้านความคิด สิทธิต่อการมีอิสระในการเลือก ดังที่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านซูเราะฮ์อะอ์รอฟ อายัตที่157




      الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الْأُمِّيَّ الَّذِي يَجِدُونَهُ مَكْتُوبًا عِندَهُمْ فِي التَّوْرَاةِ وَالْإِنجِيلِ يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَائِثَ وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالْأَغْلَالَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ ۚ

      “คือบรรดาผู้ปฏิบัติตามร่อซูล ผู้เป็นนบีที่เขียนไม่ได้อ่านไม่เป็น ที่พวกเขาพบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีลโดยที่เขา กำชับต่อการทำสิ่งที่ดีงามและห้ามปรามการกระทำในสิ่งที่ชั่วร้าย และจะอนุมัติให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขา ซึ่งภาระหนักของพวกเขาและโซ่ตรวน”

      พระองค์ทรงมอบคุณสมบัติหนึ่งแก่ท่านศาสดา คือการปลดโซ่ตรวนออกจากคอของพวกเขา اصر หมายถึงภาระหน้าที่ของมนุษย์. ความหมายและใจความที่แท้จริงของคำนี้นั้น เป็นสิ่งที่แปลกอย่างยิ่ง. ถ้าในสังคมปัจจุบันที่มีความเชื่อต่อศาสนาหรือไม่ก็ตามแต่ ต่างให้ความสนใจในประเด็นนี้ เขาจะรู้ว่า โซ่ คือพันธะสัญญาที่มนุษย์แบกรับมันอยู่ คือบ่อเกิดของความบาฏิลต่อหลักการศรัทธา และความผิดพลาดในกิจการทางสังคม, นำบทวิเคราะห์และการตีความที่ผิดพลาดสู่ประชาชน จนคำว่า اغلال (ภาระ) คือส่วนหนึ่งของพันธนาการนั้นเอง. 

      นายญะวาเรจญ์ เญรดาก ผู้ประพันธ์หนังสือชื่อว่า เซาตุลอิดาละห์ ได้เปรียบเทียบสองประโยคระหว่าง อิมามอาลี (อ) และท่านอุมัร คอลีฟะห์คนที่สอง, ในสมัยที่ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะห์ ได้มีผู้ปกครองเมืองต่างๆมาเข้าพบ และได้เล่าเรื่องราวการต่อต้านของประชาชนต่อพวกเขา ให้คอลีฟะห์ฟัง จนทำให้คอลีฟะห์โกรธเป็นอย่างมากพร้อมกับพูดว่า “استعبدتم الناس وقدخلقهم الله احرار” พวกท่านจับพวกเขาเป็นทาสหรือ ในขณะที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาในรูปแบบที่เป็นอิสระชน. ส่วนคำพูดของท่านอิมามอาลี (อ) ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ได้กล่าวว่า
      “ لاتکن عبد غیرک وقد خلقک الله حرا” อย่าเป็นทาสของใครนอกจากตัวเจ้าเอง เพราะแท้จริงแล้วพระองค์ทรงสร้างเรามาในรูปแบบอิสระชน, ท่านญะวาเรจญ์ได้ทำการอธิบายถึงความแตกต่างในคำพูดของทั้งสอง และสรุปว่า คำพูดของอิมามอาลีนั้นสูงส่งกว่า, อุมัรได้พูดถึงการไม่มีสิทธิใดๆต่ออิสรภาพของเขาเอง หมายถึง استعبدتم พวกท่านจับเขามาเป็นทาส ดังนั้นจงปล่อยเขาไป (แสดงว่าอิสรภาพไม่ได้อยู่ที่ตัวตนของพวกเขาเลย อิสรภาพที่พวกเขาจะได้รับนั้น อยู่กับนายทาสมากกว่า) แต่คำกล่าวของอิมามอาลีนั้นแตกต่างออกไป ซึ่งท่านได้กล่าวว่า لاتکن عبد غیرک وقد خلقک الله حرا หมายถึง อย่าเป็นทาสของใครเลยนอกจากตัวเราเอง ถือเป็นการยืนยันว่า มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสระจากทุกสิ่ง ไม่มีใครเป็นเจ้าของใครได้ เพราะพระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาในรูปแบบอิสระชน. 

      เราสามารถกล่าวได้ถึงสองคุณลักษณะ ของคำว่า อิสรภาพ ที่ท่านอิมามอาลีได้ให้ความหมายและยกระดับความสูงส่งไว้. ลักษณะแรกคือ อิสรภาพนั้นคือส่วนของสัญชาตญาณของมนุษย์ คำพูดดังกล่าวที่ยืนยันถึงการสร้างมนุษย์มาในรูปแบบที่เป็นอิสระ وقد خلقک الله حرا . ข้าพเจ้าจะเปรียบเทียบระหว่างแนวคิดอิสลามและแนวคิดตะวันตกในเรื่องนี้.

      วันนี้ข้าพเจ้าไม่ต้องการอรรธถาธิบายในเรื่องของคำว่า อิสระ หรือเสรีภาพอย่างละเอียด เพราะต้องใช้มากเวลาพอสมควร อินชาอัลลอฮด้วยพระประสงค์จากพระองค์ ขอให้มีโอกาสอื่นๆในการอธิบายคำๆนี้อย่างลึกซึ่งต่อไป. แต่วันนี้ จะทำการอธิบายถึงสองหัวข้อที่กล่าวไป คือเรื่องความหมายของอิสระทางความคิดและคำว่าอิสรภาพ. 

      ในวันนี้ โลกได้ให้นิยามของคำว่า อิสรภาพภายในสังคม ซึ่งเป็นคำอธิบายเดียวกัน ที่มีรากฐานจากอัลกุรอ่าน ดังนั้น เราไม่จำเป็นที่ต้องไปยึดถือ และปฏิบัติตามแนวคิดของพวกเสรีนิยมในศตวรรษที่18เลย, เรามีทฤษฎีและหลักตรรกศาสตร์ของเราเองในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นความหมายที่มาจากเหตุและผล และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ คำว่า อิสรภาพนั้น ต้องศึกษาความหมายจากอิสลาม บางกลุ่มบางพวกชอบให้นิยามคำว่าอิสรภาพ ที่หมายถึง การต่อต้านอิสลามบ้าง, เผ่าพันธ์นิยมบ้าง หรืออัตตาธิปไตยบ้าง.


      กลุ่มแรก อ้างอิงถึงเสรีภาพและอิสรภาพในมุมมองทางด้านปรัชญา. ช่วงสองถึงสามศตวรรษที่ผ่านมา ชาติตะวันตก ต่างอ้างถึงนักปราชญ์คนนั้นว่าอย่างนี้ คนนี้ว่าอย่างนั้น ซึ่งชื่อบางชื่อก็มีตัวตนบ้าง แต่ส่วนมากนั้นเป็นชื่อที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาและไม่มีตัวตน พวกเขาเพียงแค่อ้างถึงว่า เป็นนักปราชญ์ชาวฝรังเศษบ้าง ชาวเยอรมันและอเมริกาบ้าง, จนทำให้ความหมายของคำว่า อิสรภาพ เสรีภาพ ต้องมาจากแนวคิดและความหมายที่มาจากชาติตะวันตกเพียงเท่านั้น.

      กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่เมื่อได้ยินคำว่า เสรีภาพและอิสรภาพ พวกเขาจะตกอกตกใจ พร้อมๆกับรู้สึกว่า มันคือความป่าเถื่อน และจะพูดว่า ศาสนาไม่มีแล้ว, แต่หาเป็นเช่นนั้นใม่ เพราะศาสนาคือการให้นิยามของคำว่า อิสรภาพและเสรีภาพ ที่ชัดเจนและถูกต้องที่สุด อิสรภาพและเสรีภาพ ที่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ส่วนสติปัญญาคือของขวัญอันล่ำค่า ที่ศาสนามอบให้กับประชาชาติต่างหาก. ด้วยความสิริมงคลของเสรีภาพและอิสรภาพที่ศาสนามอบให้นั้น จึงเป็นที่มาของความคิดและความสามารถของประชาชน. อัตตาธิปไตย คือสิ่งตรงกันข้ามกับ พรสวรรค์ของปัจเจกบุคคล ทุกทีที่มีอัตตาธิปไตย ตรงนั้นจะไม่พบพรสวรรค์และความสามารถของปัจเจกบุคคล. อิสลามต้องการความสามารถของมนุษย์ อิสลามให้เราสำรวจพรสวรรค์และความสามารถของมนุษย์ และใช้ประโยชน์จากมัน เสมือนกับการสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่อการพัฒนาโลก หากมาตรแม้นว่าไม่มีอิสรภาพและเสรีภาพ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ? ดังนั้นแนวคิดเหล่านี้ คือแนวคิดที่ผิดผลาด, สองกลุ่มดังกล่าวนี้ มาจากตะวันตก พวกเขาต้องการทำทุกวิถีทาง ในการแยกอิสลามออกจาก อิสรภาพและเสรีภาพ แต่พวกเขาไม่สามารถทำได้ เพราะความหมายที่แท้จริงและนิยามแห่งเสรีภาพและอิสรภาพนั้น คือความหมายที่อิสลามมอบให้. 

      ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า ศาสนาอิสลามได้มอบคุณค่าที่สูงส่งให้กับ เสรีภาพของสังคม, ชาติตะวันตกพยายามในการแทรกซึมแนวคิดเสรีนิยมในกลุ่มประเทศต่างๆ ทั้งยุโรปและทวีปอื่น จนเป็นที่มาของการปฏิวัติในฝรังเศษ และเป็นข้ออ้างอันสวยหรูในการทำสงครามของมหาอำนาจอย่างอเมริกา. ปัจจุบันมีการตีความกันอย่างมากของแนวคิดเสรีนิยม จนเป็นที่มาของอุดมการณ์แห่งอเมริกันชน. 

      ข้าพเจ้าขอกล่าวกับพวกท่านว่า นักวิชาการที่ไม่ได้เป็นคนอเมริกันในวันนี้เป็นจำนวนมาก รับจ้างเขียนตำราในเรื่องแนวคิดแห่งสังคมนิยม บ้างก็เขียนที่ออสเตรีย บ้างก็เขียนที่ฝรั่งเศษหรือเยอรมัน แต่ทั้งหมดล้วนถูกตีพิมพ์ที่นิวยอร์กทั้งสิ้น. แรงจูงใจที่ถูกประพันธ์ลงในหนังสือ ล้วนเพื่อสนองต่อความต้องการของอเมริกา เรื่องนี้มันมีความ ละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก คงจะต้องใช้โอกาสต่อไปในการอธิบายเรื่องนี้, แต่ในทัศนะอิสลามถือว่า สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งจากทัศนะของนักเขียนคนหนึ่งเพียงเท่านั้น. 

      พวกตะวันตกได้นำเสนอปรัชญาของเสรีภาพ แล้วพวกเขาเองก็เผชิญกับปัญหาของมัน เสรีภาพคืออะไร ? ทำไมมนุษยชาติถึงต้องมีอิสรภาพด้วย ? ต้องทำความเข้าใจจากหลักการ และเหตุผล ตลอดจนหลักปรัชญา เพราะมีคำพูดที่สวยหรูได้ถูกนำเสนออย่างมากมาย บ้างก็มีประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคล บ้างก็มีประโยชน์แค่เพียงกลุ่มหนึ่ง แต่ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้อื่น และพวกเขาต้องถูกตำหนิติเตียนต่อไปในเรื่องนี้. 

      หากทำการศึกษาจากตำราของพวกเสรีนิยมที่เขียนขึ้นมาในหลายปีนี้ จะพบว่า คำพูดของพวกเขาไร้ประโยชน์และไร้คุณภาพ เสมือนกับเป็นการนำเสนอทฤษฎีเสรีภาพในยุคกลาง, บางคนนำเสนอ บางคนตั้งคำถาม บางคนตอบคำถาม เป็นสิ่งที่ไร้สาระสำหรับนักวิชาการของโลกที่สามยิ่งนัก บ้างก็เป็นพวกพ้องของแนวคิดนี้ บ้างก็เป็นพวกพ้องของแนวคิดอื่น บ้างก็นำเสนอทฤษฎีตนเอง และอธิบายถึงเหตุและผลเพียงเพื่อให้ชื่อเสียงเรียงนามของตนนั้นได้เป็นที่รู้จัก. 

      ทัศนะของอิสลามกล่าวว่า ปรัชญาของอิสรภาพคือ สิทธิมนุษยชน ดังฮาดิษที่ได้กล่าวไปข้างตน อิสลามถือว่าอิสรภาพและเสรีภาพคือส่วนหนึ่งจากสัญชาตญาณของมนุษย์ แต่เป็นสิทธิที่สูงกว่าสิทธิอื่นใด เช่นสิทธิแห่งการดำรงชีวิต สิทธิแห่งการมีชีวิต จึงย่อมจะสูงกว่าสิทธิในเรื่องอื่นๆ อาทิเช่น สิทธิในการเลือกตั้ง หรือสิทธิในการอยู่อาศัย ดังนั้นในทัศนะอิสลาม อิสรภาพและเสรีภาพหมายถึงสิ่งนี้. แต่ในบางครั้งก็มีข้อจำกัดและยกเว้นในบางกรณีเช่น สิทธิของผู้ถูกสังหาร ต้องกิซอซผู้ฆ่า ( ตายตาม) หรือบางคนทำผิด จะต้องถูกนำมาลงโทษฑัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ทัศนะของอิสลามต่อเสรีภาพและอิสรภาพนั้น จะต้องควบคู่กับสิทธิมนุษยชน. ดังนั้นการคิดว่า แนวคิดทางด้านอิสรภาพ และเสรีภาพ เป็นของขวัญที่ตะวันตกหยิบยื่นให้เรา นั้นคือความคิดที่ผิดผลาด บางกรณีถ้าพูดถึงประเด็นนี้ หรืออ้างอึงถึงทฤษฎีที่สวยหรู จะต้องบอกว่ามาจากหนังสือเล่มนั้นบ้าง มาจากคนนั้น หรือคนนี้บ้าง และต้องยกแนวคิดเหล่านี้ ให้ชาติตะวันตก, เปล่าเลย เราต้องมีอิสระทางความคิดที่เป็นเอกเทศ และต้องเป็นการนำเสนอที่มาจากอิสลามเพียงเท่านั้น มนุษย์มักจะใช้วิธีการโน้มน้าวความคิดของผู้อื่น โดยการหยิบยกทัศนะหรือแนวคิดจากบุคคลอื่นมาเป็นองค์ประกอบ จะต้องเป็นการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจต่อแนวทางเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการนำเสนอเพื่อให้ปฏิบัติตามต่อสิ่งนัั้น แต่ถ้าเป็นการนำเสนอเพื่อให้ปฏิบัติตามเมื่อใหร่ อันตรายอันน่าสะพรึ่งกลัวกำลังมาเยือนเขา.


      ข้าพเจ้าถือว่า ปัจจุบันในเวทีแห่งความคิดและแวดวงสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นปรากฏการที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง แต่หลายๆท่านอาจลืมนึกถึงหลักการจากพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญ ข้าพเจ้าขอนำเสนอมุมมองที่แตกต่างของความหมายแห่งเสรีภาพ จากตรรกศาสตร์ของอิสลามและจากหลักตรรกศาสตร์ของตะวันตก พวกเสรีนิยมคือกลุ่มที่นำเสนอเรื่องอิสรภาพและเสรีภาพ บางครั้งอาจมีแนวคิดอื่น ที่แตกต่างจากแนวคิดเสรีนิยม แต่ทั้งหมดก็ถูกผนวกไว้เป็นเรื่องเดียว. 

      ลัทธิเสรีนิยมในตะวันตกมีความเชื่อว่า เสรีภาพของมนุษย์ไม่มีความเกี่ยวโยงกับศาสนาและพระผู้เป็นเจ้า จึงได้บทสุรปว่า แนวคิดของพวกเสรีนิยมนั้น ไม่ได้มีรากฐานจากพระผู้พระเจ้า ไม่มีผู้ใดจะกล่าวว่า เสรีภาพของมนุษย์นั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ประทานให้ พวกเขาได้สร้างหลักปรัชญาขึ้นมาเพื่อรองรับต่อทฤษฎีนี้ ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างตน. ทัศนะอิสลามถือว่า เสรีภาพและอิสรภาพนั้น คือสิ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่มวลมนุษยชาติ ดังนั้นเราจึงมีความเชื่อที่แตกต่างต่อหลักการเช่นนี้อย่างสิ้นเชิง อิสลามมีความเชื่ิอว่า ทุกการเคลื่อนไหวที่ขัดกับอิสรภาพนั้น หมายถึงการขับเคลื่อนที่ต่อต้านพระเจ้า และเสมือนกับการขัดต่อบทบัญญัติแห่งศาสนา. แต่ทัศนะของตะวันตกไม่เป็นเช่นนี้ กล่าวคือ การต่อสู้ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ล้วนมีที่มาจากแนวคิดเสรีนิยม และมันคือแนวคิดที่ไร้ตรรกศาสตร์อย่างสิ้นเชิง. อาทิทฤษฎีของการมีส่วนร่วมในเรื่องการทำความดี หรือ ความดีในชนหมู่มาก สิ่งนี้คือพื้นฐานของประชาธิปไตยในสังคม. แต่สำหรับกลุ่มที่ปฏิเสธก็จะตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมฉันต้องออกไปต่อสู้เพื่อชนส่วนมากและเสียชีวิตด้วย?? ด้วยเหตุนี้ การต่อสู้ของบุคคลที่มีอุดมการณ์เช่นนั้น จะไม่มีผลใดๆต่อขบวนการต่อสู้ของเขา และพวกเขาก็จะถอนตัวในที่สุด พร้อมตั้งคำถามกับตนว่า ฉันจะออกไปตายทำไม?? 

      ส่วนทัศนะอิสลามกล่าวว่า การออกไปต่อสู้เพื่ออิสรภาพ คือการทำหน้าที่ตามศาสนบัญญัติ และถือเป็นการออกไปปฏิบัติตามพระบัญชาจากพระองค์. เช่นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งที่กำลังถูกปลิดชีพ ถือเป็นหน้าที่ ตามหลักศาสนาของเราที่จะต้องออกไปปกป้องและช่วยเหลือเขา และถ้าเราไม่กระทำการช่วยเหลือ เราก็คือผู้ทีี่ได้กระทำบาป ส่วนมุมมองของเรื่องเสรีภาพต่อสังคม ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ตามหลักศาสนาเช่นกัน. 
      ความแตกต่างอีกข้อหนึ่ง ระหว่างแนวคิดเสรีนิยมและอิสลามคือ ตะวันตกมีความเชื่อว่า คุณค่าทางจริยธรรมและความสูงส่งของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อของปัจเจกบุคคล จึงเป็นที่มาของ อิสรภาพที่ไร้ขอบเขต ดังนั้นบุคคลที่มีความศรัทธาต่อเรื่องแห่งจริยธรรม ก็ไม่สามารถยัดเยียดความเชื่อนี้ ให้กับบุคคลที่ไม่มีความเชื่อได้ เพราะเรื่องจริยธรรมที่มีอยู่ในแต่ล่ะคนนั้น เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่สามารถบังคับกันได้. ส่วนเรื่องจิตวิญญาณและเรื่องจรรยามารยาท จึงไม่อาจจำกัดขอบเขตในการวางกรอบของวิถีแห่งการดำรงชีวิตได้.
      ทัศนะอิสลามมีความเชื่อว่า คุณค่าของมนุษย์เป็นกฏเกณฑ์ที่ตายตัว ฮะกีกัต( แก่นแท้) ของมนุษย์มีจริง และมนุษย์กำลังขับเคลื่อนสู่แนวทางนี้ มันคือแนวทางสู่ความสมบูรณ์ของการสร้าง และด้วยเหตุนี้ อิสรภาพในทัศนะอิสลามจึงมีขอบเขต การทำความเข้าใจต่อเรื่องนี้ของแต่ละบุคคลนั้น ย่อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาวะความรู้ความเข้าใจที่เขาจะได้รับ. เสรีภาพเช่นนี้ อิสลามนำเสนอและมอบคุณค่าให้ ถ้าการมอบคุณค่าในด้านจิตวิญญาณถูกนำไปปฏิบัติในสังคมแห่งโลกวัตถุ ปัญหาต่างๆก็จะสลายไป ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า

      ‫من قتل نفساً بغير نفس او فساد في الارض فکانّما قتل النّاس جميعاً ‬

      “ ผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งโดยมิใช่เพื่อเป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากกการบ่อนทำลายบนหน้าแผ่นดินแล้ว ประหนึ่งว่าเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล”

      อายะห์นี้มีใจความที่น่าฉงนยิ่งนัก การฆ่ามนุษย์ผู้หนึ่งเทียบเท่่ากับการฆ่ามนุษยชาติทั้งมวล เพราะอัลกุรอ่านต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่า การฆ่ามนุษย์นั้น หมายถึงการล่วงละเมิดสิทธิและชีวิตของความเป็นมนุษย์ แต่มีข้อยกเว้นว่า หากการฆ่านั้น เป็นการฆ่าเพื่อชดเชยชีวิตหนึ่งที่ถูกสังหารลงไป หรือเป็นการฆ่าผู้ที่สร้างความโสมมบนหน้าแผ่นดิน ดังนั้นคุณค่าของมนุษย์และฮะกีกัตนั้นจึงเป็นกฏเกณฑ์ที่ตายตัว และเป็นตัวกำหนดขอบเขตของเสรีภาพในสังคม. 


      ความแตกต่างข้อต่อไป อิสรภาพและเสรีภาพของตะวันตกนั้น ถูกจำกัดภายใต้ผลประโยชน์จากโลกแห่งวัตถุเพียงเท่านั้น. ขั้นตอนแรกในการนำเสนออิสรภาพและเสรีภาพของสัมคมหรือของปัจเจกบุคคลนั้น จะมีเงื่อนใขที่ตายตัวบางประการ ในการจำกัดขอบเขตของมัน อาทิ ถ้าผลประโยชน์จากด้านวัตถุกำลังลดทอน อิสรภาพก็จะถูกตีกรอบและจำกัดทันที ดังตัวอย่างในเรื่องความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการด้านความรู้ และการเรียนการสอน ซึ่งสิ่งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องอิสระและเสรีสำหรับประชาชนทุกชาติ ที่สามารถจะเรียนหรือทำการสอนกันเองได้ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแสวงหาความรู้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เสรีภาพด้านนี้ กลับถูกผูกขาดไว้กับมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ในชาติตะวันตกเพียงเท่านั้น ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีหรือความไฮแทคตามภาษาปัจจุบัน ไม่สามารถถ่ายโอนให้ชาติใดได้ การถ่ายโอนความรู้ความสามารถไปยังประเทศหนึ่งประเทศใดนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามกระนั้นหรือ??
      เพราะถ้าความรู้เหล่านี้ ไปตกอยู่ในชาติอื่น พวกเขาก็จะไม่หลงเหลืออำนาจใดๆเลยแม้แต่น้อย อำนาจแห่งวัตถุของพวกเขาที่มีอยู่ ก็จะย่อยสลายไปพร้อมกับความรู้ที่ถูกถ่ายทอดยังประเทศอื่น อิสรภาพและเสรีภาพถูกจำกัด
      โดยพรมแดน หมายถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยชาติตะวันตก ไม่สามารถมีลูกศิษย์ที่เป็นคนจากประเทศโลกที่สามได้ อาทิเช่น อิหร่าน หรือจีน.

      เสรีภาพทางด้านข้อมูลข่าวสารก็เช่นกัน ปัจจุบันโลกกำลังเรียกร้องเสรีภาพของสื่อและข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนทุกหย่อมหญ้า เข้าถึงสื่อและทันต่อเหตุการณ์ทีี่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ การขยายเสรีภาพของสื่อในชาติตะวันตกนั้น ตั้งอยู่บนการจำกัดในการนำเสนอต่างหาก เพราะในสมัยบุชผู้พ่อ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ หลังจากผ่านการเซนเซอร์อย่างละเอียดถึงหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่า ข่าวการบุกทำสงครามของสหรัฐต่ออิรัคเพิ่งถูกกล่าวขึ้น และพวกเขาก็พูดด้วยความภาคภูมิใจว่า เราไม่อนุญาติให้สื่อมวลชน นำภาพถ่ายแม้แต่ภาพเดียว หรือข่าวสารเกี่ยวกับการบุกอิรัคของสหรัฐลงตีพิมพ์ ทุกคนต่างทราบแล้วว่า วันนั้นสหรัฐได้บุกอิรัคแล้ว อเมริกันชนเองก็ทราบ แต่รายละเอียดของสงครามหรือข่าวสารในเรื่องนี้ถูกปิดเงียบด้วยข้ออ้างว่า ขัดต่อความมั่นคงของกองทัพ ดังนั้นความมั่นคงทางการทหารสามารถเป็นตัวจำกัดอิสรภาพและเสรีภาพใช่ใหม??? แปลว่าอิสรภาพและเสรีภาพนั้นต้องขึ้นอยู่กับกำแพงแห่งวัตถุและเขตแดนของเสถียรภาพแห่งรัฐใช่ใหม?? เมื่อ 3- 4 ปีที่ผ่านมา มีข่าวหนึ่ง ที่โด่งดังทุกวงการสื่อ ทั้งวิทยุโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วทั้งโลก รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของเรา ก็มีการเสนอข่าวนี้เช่นกัน ในสมัยการปกครองของคลินตัน มีกลุ่มศาสนานิยมกลุ่มหนึ่ง ที่มีความคิดขัดต่อรัฐบาลสหรัฐ รัฐบาลคลินตันจึงได้ใช้กฏหมาย ใช้กำลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามคนกลุ่มนี้ แต่ก็ไร้ผล พวกเขาจึงได้ล้อมสถานที่พักอาศัยของกลุ่มนี้ ที่มีผู้คนอยู่ถึง80คน ทั้งสตรี เด็กและคนชรา และได้ทำการจุดไฟเผาสังหารทุกคน ซึ่งไม่มีกองกำลังติดอาวุธแม้คนเดียวในบ้านหลังนั้น คนตายคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเราก็เห็นสภาพศพของพวกเขาที่ถูกไฟคลอกตาย และเป็นภาพที่สื่อมวลชนนำลงตีพิมพ์ทั่วโลก, อิสรภาพยังหลงเหลืออยู่อีกหรือ?? อิสรภาพของหลักศรัทธาหรือ?? อิสรภาพเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมือง ต่างถูกจำกัดไว้ทั้งสิ้น. สรุปว่า อิสรภาพและเสรีภาพของชาวตะวันตกถูกตีกรอบและจำกัดด้วยพรมแดนแห่งโลกวัตถุทั้งสิ้น.

      จริยธรรมอันดีงาม ไม่ได้เป็นสิ่งขัดขวางใดๆต่ออิสรภาพของมนุษย์. กลุ่มรักร่วมเพศในสหรัฐ เป็นกลุ่มที่ถูกยอมรับ และมีการเผยแพร่ต่อแนวคิดนี้ ในขณะที่กลุ่มนี้เอง ต่างมีความภาคภูมิใจต่อพฤษติกรรมรักร่วมเพศของตน มีการเดินขบวนบนท้องถนน มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายของพวกเขา หรือบางครั้ง พวกเขาประกาศอย่างภาคภูมิใจที่มีสมาชิกของกลุ่ม เป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าบ้าง หรือเป็นนักการเมืองระดับชาติบ้าง และไม่มีผู้ใดละอายใจต่อสิ่งนี้ หรือไม่มีผู้ใดคัดค้านต่อการกระทำเช่นนี้ หรือในบางครั้ง บุคคลใดที่ต่อต้านต่อกลุ่มรักร่วมเพศ เขาจะถูกโจมตีจากสื่อทุกสำนัก ทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ แสดงว่าเสรีภาพในเรื่องเพศ คือการไร้ขอบเขตที่ชัดเจน และเป็นเสรีภาพโดยดุษณี.

      อีกตัวอย่างในบางประเทศแถบยุโรป ที่มีการจำกัดในการเผยแพร่แนวคิดแบบฟาสซิสต์ หรือการนำเสนอระบบการเมืองและการปกครอง แต่กลับถูกห้าม ในขณะที่ลัทธิเปลือยกายที่กำลังเคลื่อนไหวกลับไม่มีการจำกัดขอบเขตใดๆ แสดงว่าเสรีภาพในปรัชญาของพวกเสรีนิยมตะวันตกคือ การจำกัดแนวคิดหรืออุดมการณ์ทีี่มากจากโลกแห่งวัตถุเพียงเท่านั้น โดยที่ไม่ยุ่งเกียวกับเรื่องจริยธรรมของมนุษย์เลยแม้แต่น้อย แต่ศาสนาอิสลามได้กำหนดขอบเขตในเรื่องจริยธรรมของความเป็นมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน อิสลามได้ให้เสรีภาพตามขอบเขตของโลกแห่งวัตถุ โดยคำนึงถึงขอบเขตทางด้านจิตวิญาญาณเป็นหลัก. ในสถาณการณ์ที่ถ้าบุคคลหนึ่ง กำลังทำลายความมั่นคงหรือผลประโยชน์ของชาติ เสรีภาพของเขาจะถูกจำกัดทันที ซึ่งถือเป็นหลักตรรกศาสตร์ที่ต่างก็ยอมรับ และเช่นเดียวกัน ในขณะที่ความมั่นคงทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์จะถูกทำลาย เสรีภาพของเขาก็จะถูกจำกัดเช่นกัน เพราะคุณค่าทางด้านจริยธรรมก็มีขอบเขตเช่นกัน. ถ้าบุคคลหนึ่งมีหลักศรัทธาที่หลงทางหรือผิด ไม่ได้มีปัญหาใดๆถ้ามีการพูดถึงสิ่งนี้ หมายถึง เขาผู้นั้นมีอุปสรรคและปัญหากับพระผู้เป็นเจ้าและบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้น รัฐบาลไม่มีหน้าที่ในการปราบปรามต่อสิ่งนี้ เราจึงเห็นได้ว่า ในรัฐอิสลาม มีประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์และยิวจำนวนหนึ่ง ทั้งในอดีตและปัจุบัน ประเทศเราก็มีให้เห็น และในสมัยท่านศาสดาก็มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์เช่นกัน. แต่ถ้าเกิดบุคคลหนึ่ง มีแนวคิดที่เลวร้ายและกำลังมอมเมาความคิดของตน สู่บุคคลที่ไม่สามารถแยกแยะชั่วดีได้ และกำลังนำเสนอวิถีทางที่ผิดสู่สังคม ตรงนี้เองที่เสรีภาพของผู้นั้นจะถูกจำกัดทันที่. ทัศนะของอิสลามไม่อนุญาติให้นำความโสมมและความเลวร้ายออกมาสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นความโสมมทางด้านการเมือง ความโสมมทางด้านเพศ หรือความโสมมทางด้านความคิด 
      หรือในเรื่องการเรียนรู้ ที่บางครั้งนักปราชญ์ได้ให้ศิษย์ของตน ทำเรื่องโสมมขึ้นมา เพื่อทำการวิจัยต่อสิ่งนั้น แน่นอนใน90 % ของนักศึกษา อาจไม่มีผลกระทบในเชิงลบ แต่10 %ของเยาวชนเหล่านั้น อาจได้รับผลกระทบในด้านลบต่อจิตใจพวกเขาจากสิ่งนั้น เราจะไม่อนุญาติให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ภายใต้คำโกหกของพวกเขาว่า มันคือศาสตร์แห่งความรู้. 

      เสรีภาพไม่ใช่คำพูดที่โกหก เสรีภาพไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ และเสรีภาพไม่ใช่การใส่ร้าย, ข้าพเจ้าขอตำหนิว่า ทำไมเวลากล่าวถึงอิสรภาพและเสรีภาพ จึงไม่มีการหยิบยกทัศนะจากอิสลามบ้าง?? 


      لَّئِن لَّمْ يَنتَهِ الْمُنَافِقُونَ وَالَّذِينَ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٌ وَالْمُرْجِفُونَ فِي الْمَدِينَةِ لَنُغْرِيَنَّكَ بِهِم

      แน่นอน ถ้าพวกมุนาฟิกีนและบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีโรค และกลุ่มผู้ก่อกวนความสงบในนครมะดีนะฮฺไม่ระงับ (การกระทำที่เลวทรามของพวกเขา) แน่นอน เราจะให้เจ้ามีอำนาจเหนือพวกเขา 

      มุรญีฟูน อยู่ข้างพวกมุนาฟิก( พวกกลับกลอก) และพวกที่มีโรค มุนาฟิกคืออีกกลุ่มหนึ่ง พวกที่มีโรคคือกลุ่มหนึ่ง และพวกมุรญีฟูนคืออีกกลุ่มหนึ่ง มุรญีฟูนคือพวกที่ก่อกวนและสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชน. รัฐอิสลามหนึ่งเริ่มสถาปนาขึ้นมา บนรากฐานจากอัลกุรอ่าน และแบบฉบับของท่านศาสดา กลับมีศัตรูอย่างมากมาย ทุกท่านต้องเตรียมพร้อมในด้านจิตวิญญาณต่อการปกป้องรัฐและประชาชาติอิสลาม ในขณะที่อีกฝ่าย ต่างพยายามทำลายจิตวิญญาณของพวกท่านให้อ่อนแอลงไป กลุ่มนี้คือพวกมุรญีฟูนที่อัลกุรอ่านกล่าวถึง กลุ่มนี้ทำลายความหวังและสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนของเรา لَنُغْرِيَنَّكَ بِهِم พระองค์จะทรงให้เรามีอำนาจเหนือพวกเขา สิ่งนี้คืออิสรภาพในทัศนะของอิสลาม ที่แตกต่างจากแนวคิดอื่น เพราะอิสลามมอบอิสรภาพเหนือขอบเขตของจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์. 
      ข้อแตกต่างระหว่างอิสลามและแนวคิดเสรีนิยมตะวันตกคือ พวกเสรีนิยมได้แยก และถือว่ามนุษย์ไม่มีหน้าที่ปฏิบัติหรือตักลีฟใดๆ เสรีภาพหมายถึงอิสระจากตักลีฟ(ภาระหน้าที่ทางศาสนา)ทั้งปวง แต่อิสลามกล่าวว่า เสรีภาพคือสิ่งที่ควบคู่กับการปฏิบัติ เพราะถ้ามาตรแม้นว่าไม่มีการปฏิบัติหรือตักลีฟ มนุษย์จะมีเสรีภาพไปทำไม ก็จะเสมือนกับปวงมาลาอีกะห์(เทวทูตของพระเจ้า). 

      มนุษยชาติต่างมีความนึกคิดที่เป็นอิสระ บนพื้นฐานแห่งภาระหน้าที่ ที่เขาควรปฏิบัติ และด้วยความอิสระนี้ เขาจะต้องเลือกแนวคิดและวิถีทางที่ถูกต้อง เพื่อจะนำพาไปสู่ความสมบูรณ์ของการสร้าง สิ่งนี้%E
  • อิมามโคมัยนี
  • ฮัจญ์
  • สถานะสตรีในสังคม
  • ปาเลสไตน์
700 /