สำนักผู้นำสูงสุดซัยยิด อาลี คาเมเนอี

การประกอบพิธีฮัจญ์

    • คำนำ
    • บทนำ
      ปริ้นซ์  ;  PDF
      ตามคำฟัตวา(วินิจฉัย)ของท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) และท่านอยาตุลลอฮ์ ซัยยิด อาลี คาเมเนอี

      บทนำ

          ถือเป็นภาระหน้าที่สำหรับผู้ที่เข้าสู่วัยบรรลุนิติภาวะ(มุกัลลัฟ) ที่จะต้องประกอบพิธีฮัจญ์ (เป็นวาญิบ) ซึ่งสามารถพิสูจน์ด้วยกับหลักฐานและเหตุผลจากอัลกุรอานและหะดีษ ที่ได้รายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ซอลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์  
       
          ฮัจญ์คือรุกุนหนึ่งที่สำคัญของศาสนาอิสลาม และถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งในอิสลาม ที่จะต้องยอมรับในการเป็นวาญิบ ( การบังคับทางศาสนา) ของฮัจญ์ และการละทิ้งต่อการประกอบพิธีฮัจญ์นั้น ถือว่าเป็นการทำบาปใหญ่ชนิดหนึ่ง และถ้าหากมีการปฏิเสธ ( ฮัจญ์) ถือว่าเป็นกุฟร์ (ผู้ปฏิเสธ)  อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงตรัสไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานว่า

       وَللّهِ ِ عَلَى النّاسِ حِجّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطاعَ اِلَيْهِ سَبيلاً وَ مَنْ كَفَرَ فَاِنّ اللّهَ غَنِىّ عَنِ الْعالَمينَ

      "และสำหรับสิทธิของพระองค์อัลลอฮ์ที่มีเหนือมนุษย์ คือ การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮ์ สำหรับผู้ที่มีความสามารถและผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย(ในสากลโลกนี้) " ( ซูเราะห์ อัล อิมรอน โองการที่ 97 )

        ท่านเชคกุลัยนีย์ ได้รายงานหะดีษบทหนึ่ง จากท่านอิมามศอดิก(อ) ซึ่งท่านได้กล่าวว่า “ ผู้ใดที่จากโลกนี้ไป (เสียชีวิต) โดยมิได้ประกอบพิธีฮัจญ์ และไม่มีข้ออ้างใดๆที่จำเป็นต่อกรณีดังกล่าว  หรือมิได้ป่วยไข้ หรือกษัตริย์ (ผู้ปกครอง) มิได้สั่งห้ามในการประกอบพิธีฮัจญ์ต่อเขา  แท้จริง เขาได้ตายในสภาพของยะฮูดีย์และนัศรอนีย์”

         จากริวายะห์ ( การรายงาน) และโองการอัลกุรอานข้างต้น  เพียงพอแล้วต่อการพิสูจน์ถึงความสำคัญและการเป็นวาญิบของการประกอบพิธีฮัจญ์ที่มีเหนือมวลมุสลิมทั้งหลาย  อีกทั้งยังมีริวายะห์อีกมากมายที่ได้กล่าวถึงในประเด็นนี้ โอกาสไม่เพียงพอที่จะอธิบายได้ทั้งหมด  เพราะสิ่งที่เป็นมุสตะฮับในการประกอบพิธีฮัจญ์นั้น ยังมีอีกมากมายเกินกว่าที่จะนำมาอธิบายและนำเสนอในริซาละห์เล่มนี้ได้  ดังนั้นจึงขอนำเสนอเพียงแค่นี้ ส่วนรายละเอียดที่เหลือก็สามารถศึกษาอ่านในตำราหนังสือที่เกี่ยวข้อง  การศึกษาและปฏิบัติสิ่งใดเพื่อแสวงหาความดีงามนั้น ไม่มีข้อจำกัดใดๆในกรณีศึกษา
       
         ริซาละห์เล่มนี้ ถูกเขียนขึ้นมาสำหรับพี่น้องชาวอิหร่านโดยเฉพาะ  และสำหรับผู้ที่ต้องการไปประกอบพิธีฮัจญ์และอุมรอฮ์ และผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในรายละเอียดของพิธีกรรมนี้,  เนื้อหาของคู่มือฮัจญ์เล่มนี้ ประกอบด้วยสองหมวดหมู่หลักที่สำคัญ และหัวข้อย่อยอีกหลายๆประการ    ซึ่งในบางหัวข้อนั้นจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของผู้ประกอบพิธีฮัจญ์,  บางหัวข้อจะเป็นประเด็นปัญหาของการวะศียัต (พินัยกรรม) และการเป็นตัวแทนในการไปประกอบพิธีฮัจญ์ และอีกหลายๆประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำการอธิบายดังนี้

       1 -    ฮัจญะตุลอิสลาม คือฮัจญ์ที่เป็นวาญิบสำหรับผู้ที่มีความสามารถ  ซึ่งเป็นวาญิบที่จะต้องปฏิบัติให้ได้หนึ่งครั้งในชีวิต

        2  -   ฮัจญ์เป็นวาญิบ สำหรับผู้ที่มีความสามารถและถือว่าเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องรีบปฏิบัติ กล่าวคือ ในปีแรกที่มีความสามารถ เป็นวาญิบสำหรับเขาที่ต้องรีบไปประกอบพิธีฮัจญ์ในทันที  และไม่อนุญาตให้ล่าช้า  และหากมิได้ปฏิบัติในปีนั้น ในปีถัดไปก็ยังถือว่าเป็นวาญิบสำหรับเขาที่จะต้องปฏิบัติโดยเร่งด่วน....  

        3 -   หากเข้าใจในเรื่องของการทำฮัจญ์ (ความสำคัญ)   ในขณะที่มีตนมีความสามารถ  และอยู่ในขั้นตอนเบื้องต้นของการเตรียมพร้อมเช่น การเดินทาง หรือการเตรียมและดำเนินการต่างๆในเบื้องต้น ซึ่งการดำเนินการต่างๆเหล่านี้ก็เพื่อสามารถให้ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้  ถือว่าเป็นวาญิบที่จะต้องทำเพื่อให้ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนั้น  และหากละเลยจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนั้นได้  ก็ถือว่าฮัจญ์ยังคงเป็นวาญิบสำหรับเขาต่อไป และไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด เขาจะต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปีถัดไปให้ได้  แม้นว่าจะไร้ความสามารถแล้วก็ตาม

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
        1  หากปฏิเสธสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญของศาสนา  หรือปฏิเสธริซาละห์  หรือปฏิเสธการเป็นศาสดาของท่านนบีมุฮัมมัด(ซอลฯ)หรือ มีการนำเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ศาสนา  ถือว่าเป็นกุฟร์และมุรตัด(ผู้ปฏิเสธและตกศาสนา)

       2   การปล่อยให้ล่าช้าโดยปราศจากเหตุผลอันควรตามหลักชะรีอัต ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาต  และถือเป็นการกระทำบาป(มะอฺศียัต) อีกทั้งฮัจญ์ก็ยังคงเป็นสิ่งที่วาญิบสำหรับเขาต่อไป

    • เงื่อนไขและวาญิบต่างๆในฮัจญ์
700 /